ประวัติ
พระสุนทรธรรมภาณี (สุนทรมหาเถร)
พระสุนทรธรรมภาณี (สอน สุนฺทโร) เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 28 เดือน กรกฎาคม ปีพุทธศักราช 2463 ตรง กับวัน แรม 9 ค่ำ เดือน 8 ปีระกา เป็นบุตรคนที่ 7 ของโยมบิดาซุย และโยมมารดาลี ดวงราช ที่บ้านหนองเหล็ก ตำบลเหล่า อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งมีพี่น้องเกิดร่วมบิดามารดาเดียวกัน 8 คน เลียงตามลำดับ ดังนี้
1. คุณแม่หลุน ถึงแก่กรรม
2. คุณแม่บุญ ถึงแก่กรรม
3. คุณพ่อท้าว ดวงราช ถึงแก่กรรม
4. คุณพ่อนู ดวงราช ถึงแก่กรรม
5. คุณพ่อเคน ดวงราช ถึงแก่กรรม
6. คุณพ่อเสน ดวงราช ถึงแก่กรรม
7. พระสุนทรธรรมภาณี (สอน สุนฺทโร) มรณภาพ
8. คุณพ่อสนธ์ ดวงราช ถึงแก่กรรม
การศึกษา
สำเร็จการศึกษาชั้นประถมปีที่ 2 ณ ศาลาวัดหนองเหล็ก อันเป็นสถานศึกษาในยุคนั้น คือโรงเรียนอยู่ในวัด
การบรรพชา
เมื่ออายุได้ 12 ปี โยมบิดามารดาเห็นว่าท่านเป็นผู้ที่มีอุปนิสัยและวิสาสะอยู่กับพระเณร ภายในวัดซึ่งมีความคุ้นเคยสนิทสนม กับท่านมาก่อน ขณะเป็นเด็กเข้าเรียนโรงเรียนก็อยู่ในวัด จึงได้นำมามอบให้พระอธิการเนตรเป็นองค์อุปัชฌาย์ บรรพชาเมื่อวันที่ 20 เดือนกรกฎาคม พุทธศักราช 2476 ตรงกับวันพฤหัสบดี ที่ 5 แรม 13 ค่ำ เดือน 8 ปีระกา ครองเพศสามเณร 9 ปี
การอุปสมบท
ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันศุกร์ ที่ 6 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2484 ณ พัทธสีมา วัดบัวใหญ่ ตำบลบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา โดยพระครูบวรสมนการ วัดบัวใหญ่เป็นองค์อุปัชฌาย์ จากนั้นได้กลับมาจำพรรษาที่วัดหนองเหล็กเพื่อคอยคณะสหธรรมมิกเดินทางไปศึกษามูลกัจจาย ที่อำเภอเสลภูมิ, อำเภอพนมไพร, วัดบ้านโนนคำ โดยมีหลวงปู่มา ญานวีโร วัดสันติวิเวก เป็นอาจารย์สอน ซึ่งมีเพื่อนสหธรรมิกอีกหลายรูปที่ร่วมคณะด้วยกัน จนเป็นที่ชำนาญด้วยการเรียนการสอนการวิเคราะห์ ศัพท์ทางภาษาพระศาสนาได้เมื่อเห็นว่าการศึกษาเป็นที่พอใจจึงได้กลับสู่ภูมิลำเนาเดิม เพื่อสั่งสอนศิษยานุศิษย์ต่อไป
งานในหน้าที่
หลังจากได้กลับมาอยู่วัดหนองเหล็ก ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดหนองเหล็ก เมื่อปี พ.ศ. 2507 และเจ้าคณะตำบลหนองเหล็ก ต่อมาตามลำดับ
งานธุระในพระศาสนา
ท่านเป็นพระสงฆ์ที่มีความเอาใจใส่ต่อภาระ ธุระพระศาสนา 2 ประการไปพร้อม ๆ กันคือ
1. คันธธุระ
2. วิปัสสนาธุระ
ท่านมีความชำนาญเป็นพิเศษคือ เรื่องการก่อสร้าง การออกแบบเสนาสนะสงฆ์ จนเป็นที่ยอมรับของพระสงฆ์ สามเณร ตลอดถึงญาติโยมทั่วไป ส่วนงานวิปัสสนาธุระเป็นอีกทางหนึ่งซึ่งตั้งใจอบรมศึกษาจนได้เป็นพระธรรมทูตสายที่ 5 ทำหน้าที่เผยแผ่พระศาสนา ไปทั่วสารทิศ และต่อมาการคณะสงฆ์ได้ว่างลงคือตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอ พระเดชพระคุณจึงได้ถูกคณะสงฆ์เสนอขอบัญชาให้แต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอโกสุมพิสัย เมื่อ ปี พ.ศ. 2507 ทำหน้าที่ปกครองคณะสงฆ์อำเภอต่อไป
งานเผยแผ่
พ.ศ. 2505 เป็นหัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ 5 และเป็นประธานศูนย์การอบรม อ.ป.อ. ประจำอำเภอโกสุมพิสัย มีผลงานดีเด่นและเป็นเกียรติ จนได้รับโล่ และเสาเสมาธรรมจักรพระราชทาน จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2541
งานปกครอง
เริ่มจากเจ้าคณะตำบล เจ้าคณะอำเภอ และหัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ 5 ที่ได้รับการแต่งตั้งพระเดชพระคุณเป็นพระนักปกครองคณะสงฆ์ และผู้ร่วมงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อยเหมือนพ่อปกครองลูก มีความรักและผูกพันธ์ฉันญาติ ปราศจากอคติต่อผู้ใต้บังคับบัญชา
งานการศึกษา
พระเดชพระคุณเป็นพระการศึกษามองเห็นความเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องสำคัญ โดยพยายามจะเปิดสำนักเรียนปริยัติธรรมให้ได้มากที่สุด และส่งเสริมให้พระภิกษุ สามเณร ไปเรียนบาลี และสายสามัญที่สำนักต่าง ๆ
งานสาธารณูปการ
พระเดชพระคุณเป็นพระนักสร้าง นักเสียสละ นักพัฒนา สาธารณูที่จะหาพระสงฆ์รูปใดเสมอเหมือน เช่น วัดกลางโกสุม วัดหนองเหล็ก วัดโนนสูง หรือวัดใดที่พระเดชพระคุณ เคยพำนักอาศัย ท่านจะกลับสนองทั้งคุณธรรม จริยธรรม ตลอดถึง ถาวรวัตถุทางศาสนาตลอดถึงสถานที่ประกอบการอื่น เช่น บริจาคปัจจัยสร้างตึกสงฆ์อาพาธโรงพยาบาลมหาสารคาม ตึงสงฆ์อาพาธโรงพยาบาลโกสุมพิสัย และที่พักญาติโรงพยาบาลโกสุมพิสัย
งานพิเศษด้านการปกครองคณะสงฆ์
เป็นที่ปรึกษาคณะสงฆ์อำเภอโกสุมพิสัย
ความรู้พิเศษ
1. เป็นช่างไม้
2. เป็นช่างปูน
3. มีความรู้ ความเข้าใจ สถานธรรมชาติ
4. เป็นหมอชาวบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่น อันเป็นมรดกของคนไทย
5. เป็นพระธรรมกถึก เทศน์ปุจฉาวิสัชนา ที่โด่งดังแม้แต่ต่างชาติก็เคยกราบนิมนต์ไปแสดง เช่น ประเทศลาวเมื่อ พ.ศ. 2512 - 2518
งานการคณะสงฆ์
1. มีความเรียบร้อย
2. การคณะสงฆ์เจริญก้าวหน้า
3. เป็นกันเองโดยใช้พระคุณนำหน้า
ข้อวัตรปฏิบัติแห่งการบริหาร
1. ประพฤติตนเป็นตัวอย่าง
2. ไม่เบียดเบียนผู้น้อย คือ พระสงฆ์ สามเณร
3. ไม่เบียดเบียนญาติโยม เมื่อญาติโยมขาดแคลน
ผลจากการปฏิบัติภารกิจอันน้อยใหญ่ที่ทุ่มเททั้งกาย ใจ ทรัพย์สิน เงินทอง สิ่งของยังผลให้หลวงปู่เจ้าคุณ ฯ ได้รับการสนับสนุนส่งเสริมจากผู้บังคับบัญชา ทั้งในระดับจังหวัด ระดับภาค และ หนตะวันออก ตลอดองค์ประมุขสงฆ์ คือสมเด็จพระสังฆราชฯ และราชฐานันดรศักดิ์ แห่งชีวิต จากพระบรมวงศานุวงค์ ตลอดถึงองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ประวัติการอาพาธ
พระสุนทรธรรมภาณี ได้เริ่มอาพาธมาตั้งแต่ พ.ศ. 2526 ได้เข้ารับการรักษาผ่าตัดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ อันเป็นพันธุกรรมแห่งสายเลือด
พ.ศ. 2527 ได้เข้าโรงพยาบาลขอนแก่นผ่าตัดกระเพาะอาหาร (กระเพาะอาหารทะลุ)
พ.ศ. 2530 ได้เข้ารับการรักษาและผ่าตัดไตออกข้างหนึ่งที่โรงพยาบาลขอนแก่น
จากนั้นรู้สึกว่าร่างกายของท่านจะไม่ค่อยสู้ดีนัก มีโรคเบาหวานแทรกซ้อน ความดันสูง ต้องไปทำการตรวจเช็คร่างกาย และรับยาจากนายแพทย์ที่โรงพยาบาลมาตามลำดับ โดยมีลูกศิษย์ผู้เฝ้าใกล้ชิดเป็นผู้ประสานกับนายแพทย์ประจำตัว เช่น นายแพทย์วิศิษย์ ตั้งนภากร, นายแพทย์พงษ์สวัสดิ์ รัตนแสง แต่ทุกครั้งลูกศิษย์ต้องนิมนต์แกมบังคับให้ไปรับการตรวจเช็คร่างกาย เพราะท่านจะพูดอยู่เสมอว่าเรารู้จักตัวเราดี แม้ความปรารถนาดีจากศิษยานุศิษย์ผู้ใกล้ชิดขอร้องวิงวอนให้หยุดกิจนิมนต์ให้หยุดการควบคุมการก่อสร้าง พระเดชพระคุณก็มิเคยทำตาม ยังรับกิจนิมนต์วันละ 1 – 2 แห่งอยู่เรื่อยมา ท่านบอกว่าเราเกิดมาเป็นพระนักเทศน์ บวชมาเป็นนักเผยแผ่ นักอบรม ต้องมุ่งประโยชน์แห่งพระศาสนาอันเป็นหน้าที่หลัก จากการตรากตรำทำหน้าที่ในวัยผู้สูงอายุ และมีโรคเก่ารุมเร้าอยู่ตลอด ยังให้เกิดโรคอื่นอีกตามมาคือไตวาย สมองฝ่อ และที่สุดไตก็เสื่อม ไม่สามารถทำหน้าที่ของไตได้ ยังผลให้เกิดกระทบกระเทือนไปถึงอาการน้ำดื่ม และเลือดจึงมีการฟอกเลือดทุกวันจันทร์ และพฤหัสบดี ทำอยู่อย่างนี้มาประมาณ 3 – 4 เดือน จนไม่มีที่จะตัดต่อสายฟอกเลือดเข้าเครื่องรวมแล้วที่ตัดเจาะสายฟอกทั้งหมด 11 แห่ง ครั้งสุดท้ายตัดเจาะสอดสายฟอกเข้าเครื่องบริเวณต้นขา ตลอดระยะเวลาอาพาธท่านจะไม่เคยปริปากบอกศิษย์ ท่านเก็บกดอาการได้ตลอด บางครั้งแสดงธรรมอยู่ถึงกับอาเจียนเป็นเลือ ด คณะศิษย์ก็นำส่งโรงพยาบาล คณะศิษย์ผู้เป็นสงฆ์อุปฐากต้องเฝ้าคอยสังเกตุอาการอย่างด่วนที่จะทำการฟอกอย่างต่อเนื่องนี้ ก่อนนั้น เจ้าคณะอำเภอ และคณะสงฆ์ ญาติโยม ศิษยานุศิษ ย์ วิงวอนขอร้องให้ไปฟอกเลือด แต่ท่านไม่ยอมไป ท่านพูดว่า ฟอกให้เสียเงินทองทำไม ฟอกแล้วก็ไม่ดีขึ้น สงเคราะห์ญาติโยมไม่ได้ สวดมนต์ก็ไปได้ ทำวัตรก็ไม่ได้ ในที่สุดท่านประยุทธ ศิริพานิชณ์ อดีตรัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม นายแพทย์พงษ์สวัสดิ์ รัตนแสง เอารถมารับเข้าทำการฟอกโดยไม่ฟังการคัดค้านจากพระเดชพระคุณ โดยได้รับถวายการรักษาฟรี จากโรงพยาบาลโกสุมพิสัยและโรงพยาบาลมหาสารคาม
ในที่สุด หลวงปู่เจ้าคุณ ฯ ก็ไม่สามารถที่จะต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บที่รุมเร้าไปได้ ท่านจึงได้ละสังขารอย่างสงบที่โรงพยาบาลมหาสารคาม เมื่อเวลา 06.49 น. ของวันที่ 28 กรกฎาคม 2546 ศิริรวมอายุได้ 83 ปี 62 พรรษา ท่ามกลางความเศร้าโศกของคณะผู้เฝ้าไข้ และคณะศิษยานุศิษย์ตลอดญาติธรรมวงการคณะสงฆ์ทั่วไป
คุณธรรมความดีที่ควรถือเป็นแบบอย่าง
1. เป็นพระมหาเถระที่เคร่งครัดในระเบียบวินัย
2. เป็นพระเถระที่อนุเคราะห์ สงเคราะห์ เพื่อนสหธรรมมิค ตลอดถึงญาติธรรมทั่วไป
3. ส่งเสริมการศึกษาทั้งทางโลก และทางธรรม
4. เป็นนักวิศวกรประสบการณ์งานการก่อสร้าง เสนาสนะวัตถุ
5. เป็นพระมหาเถระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติตรงปฏิบัติชอบ
6. เป็นพระมหาเถระที่ปราศจากอธิกรณ์ทั้งทางโลกและทางธรรม
7. เป็นพระธรรมกถึก แสดงธรรม ทำนองปุจฉา และวิสัชนา เทศน์ลำทำนองอีสาน
ภารกิจ ชุมชน สังคม การศึกษา
1. เป็นที่ปรึกษาปัญหาชุมชน
2. เป็นประธานมูลนิธิตึกสงฆ์อาพาธ โรงพยาลโกสุมพิสัย
3. เป็นประธานงานสาธารณูปการ วัดกลางโกสุม วัดโนนสูง วัดวังขอนจิก และวัดที่ชุมชน เจ้าอาวาสขาดโอกาส
4. เป็นประธานอุปถัมภ์ การศึกษาสงเคราะห์โรงเรียนมัธยมวัดกลางโกสุม โรงเรียนบ้านหนองเหล็ก
งานในหน้าที่และตำแหน่งที่สำคัญ
1. เป็นผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนนิพนธ์ ประสิทธิวิทยา หรือมัธยมวัดกลางโกสุม 45 ปี
2. เป็นประธานอำนวยการสอนธรรมแผนกปริยัติธรรม 46 ปี
3. เป็นหัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ 5 45 ปี
4. ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะอำเภอโกสุมพิสัย 45 ปี
5. เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอโกสุมพิสัย 5 ปี
6. เป็นพระอุปัชฌาย์ 53 ปี
งานอนุรักษ์ศิลปะภูมิปัญญาท้องถิ่น
1. เป็นผู้แต่งบทกลอน ลำกลอน ลำเรื่องต่อกลอน
2. เป็นหมอยาสมุนไพรพื้นบ้าน
3. ส่งเสริมหมอแคนเข้าประกวด
เกียรติประวัติแห่งฐานันดรสมณศักดิ์
1. พ.ศ. 2502 เป็นพระครูสัญญาบัตรพัดยศชั้นตรี ในราชทินนามที่ "พระครูพิศิษฎ์ธรรมาจารย์"
2. พ.ศ. 2509 เป็นพระครูสัญญาบัตรพัดยศชั้นโท ในราชทินนามเดิม
3. พ.ศ. 2515 เป็นพระครูสัญญาบัตรพัดยศชั้นเอก ในราชทินนามเดิม
4. พ.ศ. 2524 เป็นพระครูชั้นพิเศษ ในราชทินนามเดิม
5. พ.ศ.2541 ได้รับเสาเสมาธรรมจักรทองคำพระราชทาน จาก
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม
6. พ.ศ.2542 ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ
ในราชทินนามที่ "พระสุนทรธรรมภาณี" จาก
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
ณ พระที่นั่งอัมรินวินิจฉัย ซึ่งเป็นพระสงฆ์รูปแรกของอำเภอโกสุมพิสัย
ในรอบ 100 ปี
7. พ.ศ.2546 ได้รับโล่เกียรติคุณจากกระทรวงวัฒนธรรมสาขาผู้ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
7. พ.ศ.2546 ได้รับโล่เกียรติคุณจากกระทรวงวัฒนธรรมสาขาผู้ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ยาสมุนไพร
พระสุนทรธรรมภาณี เป็นครู 7 ประการที่สมบูรณ์แบบ คือ
1. ปิโย ท่านเป็นพระที่มีวัตรปฏิบัติอันเป็นที่รัก และเคารพบูชาของศิษย์
2. ครุ มีจริยาวัตรที่หนักแน่น มั่นคง ในจริยาวัตร
3. ภาวนีโย เป็นผู้หมั่นศึกษาวิชชาศิลปศาสตร์แขนงต่าง ๆ ให้ทันต่อโลก ทันต่อเหตุ
การณ์อยู่เนือง ๆ
4. วัตตา มีความพยายามอุตสาหะ วิริยะ พร่ำสอนศิษย์โดยมิคิดค่าตอบแทน
5. วจนักขโม อดทนต่อถ้อยคำอันที่เป็นทั้งฝ่ายดำ และขาว
6. คัมภีรัง กถา กัตตา ขยายคำที่ยากให้เข้าใจลึกซึ้ง สุขุมคัมภีรภาพ ตามลำดับ
7. โนจัฎธาเน นิโยชะเย ไม่ชักนำให้ศิษย์ประพฤติไปในทางที่เสื่อม หรืออันเป็นโลกวัชชะ
เพื่อเป็นการลำรึก เคารพ สดุดี แด่ ปุญญา เขตฺเต โลกสฺสารติ เนื้อนาผืนอันประเสริฐ สมมุติสงฆ์สาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ละสังขารดับซึ่งวิญญาณอันลอย ปราศจากธาตุ และขันธ์ 5 ที่ประชุมอยู่จะแตกไป เหลือไว้แต่คุณธรรม ความดี ชื่อเสียง กิติศัพท์ นับก้องไป พระจอมไตรศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า
ขอกราบขอบพระคุณข้อมูลจาก
พระสุนทรธรรมภาณี เป็นครู 7 ประการที่สมบูรณ์แบบ คือ
1. ปิโย ท่านเป็นพระที่มีวัตรปฏิบัติอันเป็นที่รัก และเคารพบูชาของศิษย์
2. ครุ มีจริยาวัตรที่หนักแน่น มั่นคง ในจริยาวัตร
3. ภาวนีโย เป็นผู้หมั่นศึกษาวิชชาศิลปศาสตร์แขนงต่าง ๆ ให้ทันต่อโลก ทันต่อเหตุ
การณ์อยู่เนือง ๆ
4. วัตตา มีความพยายามอุตสาหะ วิริยะ พร่ำสอนศิษย์โดยมิคิดค่าตอบแทน
5. วจนักขโม อดทนต่อถ้อยคำอันที่เป็นทั้งฝ่ายดำ และขาว
6. คัมภีรัง กถา กัตตา ขยายคำที่ยากให้เข้าใจลึกซึ้ง สุขุมคัมภีรภาพ ตามลำดับ
7. โนจัฎธาเน นิโยชะเย ไม่ชักนำให้ศิษย์ประพฤติไปในทางที่เสื่อม หรืออันเป็นโลกวัชชะ
เพื่อเป็นการลำรึก เคารพ สดุดี แด่ ปุญญา เขตฺเต โลกสฺสารติ เนื้อนาผืนอันประเสริฐ สมมุติสงฆ์สาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ละสังขารดับซึ่งวิญญาณอันลอย ปราศจากธาตุ และขันธ์ 5 ที่ประชุมอยู่จะแตกไป เหลือไว้แต่คุณธรรม ความดี ชื่อเสียง กิติศัพท์ นับก้องไป พระจอมไตรศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า
"รูปํ ชีวติ มจฺจานํ นามโคตฺตํ นชีรติ"
รูปลักษณ์สังขารดับสลาย ย่อมอยู่ดินเพียง
กิติศัพท์ชื่อเสียง นามโคตร แซ่ เจิดจ้าคงอยู่
ยี่สิบแปดกรกฎาเช้าตรู่เราสูญเศร้า
สังฆเจ้าบิดรสงฆ์ปลงสังขาร
เกิดวันนี้สิ้นวันนี้แห่งลมปราณ
จากลูกหลานศานุศิษย์มิตรญาติธรรม
สิ้นปิ่นเกษปิตุเรศสงฆ์โกสุม
ต่างก็ภูมิใจตามนามโปรดสูง
พระสุนทรธรรมภาณีนี้ที่จรุง
จากเบื้องสูงโปรดปรานประทานมา
ขอวิญญาณหลวงปู่เจ้าคุณฯ จงสู่นิจสวรรค์เบื้อง ในภพเลิศ แดนนิพพาน
ขอกราบขอบพระคุณข้อมูลจาก
ท่านพระอาจารย์ พระครูโกสุมวิหารการ (อภิชาต อภิชาโต)
เลขานุการเจ้าคณะอำเภอโกสุมพิสัย, เจ้าคณะตำบลหัวขวาง เขต 2,
ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดกลางโกสุม
เลขานุการเจ้าคณะอำเภอโกสุมพิสัย, เจ้าคณะตำบลหัวขวาง เขต 2,
ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดกลางโกสุม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น